ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

เที่ยวนอกจังหวัด


ภูทอก
ประวัติความเป็นมา

ภูทอก ในภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว เป็นที่ตั้งของวัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) อยู่ในอาณาเขตบ้านคำแคน ตำบลนาแสง อำเภอศรีวิไล  จ.หนองคาย ภูทอกมี 2 ลูกคือ ภูทอกใหญ่ และภูทอกน้อย ส่วนที่นักแสวงบุญและนักท่องเที่ยวทั่วไปสามารถชมได้คือภูทอกน้อย  ส่วนภูทอกใหญ่อยู่ห่างออกไป  ยังไม่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวไปชมได้ตามปกติ  ในอดีตอาณาบริเวณนี้เคยเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย  ต่อมาพระอาจารย์จวน  กุลเชฏโฐ ได้เริ่มเข้ามาจัดตั้งเป็นแหล่งบำเพ็ญเพียร เพื่อให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติธรรม เนื่องจากเป็นสถานที่เงียบสงบ เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณะธรรมของภิกษุ-สามเณรและพุทธศาสนิกชนทั่วไป 



ภูทอก


พระอาจารย์จวน  กุลเชฎโฐ

ในเวลาต่อมา  ก่อนที่พระอาจารย์จวนจะละสังขาร  ได้เล็งเห็นการณ์ไกลที่จะช่วยเหลือชาวบ้านแถวนี้ให้มีรายได้อย่างยั่งยืนและถาวร   เป็นการตอบแทนบุญคุณญาติโยมที่มีอุปการะ  จึงได้ริเริ่มจัดสร้างสะพานไม้และบันไดขึ้นชมทัศนียภาพรอบ ๆ ภูทอก  เพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธรักษ์  คือการท่องเที่ยวในเชิงการแสวงบุญหรือธรรมจาริก  นักท่องเที่ยวจะได้ประโยชน์จากการเที่ยวชมธรรมชาติคือขุนเขาลำเนาไพรและได้ศึกษาพุทธศาสนา  ส่วนชาวบ้านจะได้ประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าและธุรกิจร้านอาหาร


บรรไดที่ล้อมรอบภูทอก

บันไดขึ้นภูทอกแบ่งออกเป็น 7 ชั้น แตกต่างกันดังนี้

ชั้นที่ 1-2 เป็นบันไดสู่ชั้นที่ 3 ซึ่งเริ่มเป็นสะพานเวียนรอบเขา สภาพเป็นป่าเขามืดครึ้ม มีโขดหิน ลานหิน สุดทางชั้นที่ 3 มีทางแยกสองทาง ทางซ้ายมือเป็นทางลัดไปสู่ชั้นที่ 5 ได้เลย ซึ่งเป็นทางชันมาก ผ่านหลืบหินที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์ ทางขวามือเป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4
ชั้นที่ 4 เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกัน เรียกว่า “ดงชมพู” ทิศตะวันออกจดกับภูลังกา เขตอำเภอเซกา ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดงดิบ บนชั้นที่ 4 นี้ จะเป็นที่พักของแม่ชี รอบชั้นมีระยะทางประมาณ 400 เมตร มีที่พักผ่อนระหว่างทางเป็นระยะๆ
ชั้นที่ 5 มีศาลาและกุฏิที่อาศัยของพระ ตามช่องทางเดินจะมีถ้ำอยู่หลายถ้ำ ตลอดเส้นทางสู่ชั้นที่ 6 มีที่พักเป็นลานกว้างหลายแห่ง มีหน้าผาชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ผาเทพนิมิตร ผาหัวช้าง ผาเทพสถิต เป็นต้น ถ้ามาทางด้านเหนือจะเห็นสะพานหินธรรมชาติทอดสู่พระวิหาร อันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วย มองออกไปจะเห็นแนวของภูทอกใหญ่อย่างชัดเจน ผู้คนส่วนใหญ่มักหยุดการเดินทางเพียงแค่นี้ เพราะจากชั้นที่ 6 สู่ชั้นที่ 7 เป็นสะพานไม้เวียนรอบเขายาว 400 เมตร เกาะติดอยู่ริมหน้าผาสูงชันดูน่าหวาดเสียวอันตราย มีความยาว 400 เมตร สุดทางที่ชั้น 7 เป็นป่าไม้ร่มครึ้ม


 ความอัศจรรย์ของก้อนหิน


 เจดีย์ที่บรรจุอัฐิธาตุของพระอาจารย์จวน


ข้อควรปฏิบัติก่อนขึ้นเขา

                    เนื่องจากวัดไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยวหรือแหล่งทัศนาจร  หากแต่เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจของชาวพุทธเป็นสำคัญ  ผู้เข้าเยี่ยมชม-กราบไหว้ควรปฏิบัติตามกฎที่ทางวัดตั้งไว้อย่างเคร่งครัด คือ
          
๑. ห้ามนำสุรา-อาหารไปรับประทานบนยอดเขาโดยเด็ดขาด
          ๒.
ห้ามส่งเสียงดังรบกวนพระ-เณรที่กำลังภาวนา
          ๓. ห้ามขีดเขียนสลักข้อความลงบนหิน
          ๔. ห้ามทำลามกอนาจารฉันท์ชู้สาวและควรแต่งกายให้สุภาพ
               (อสุภาพสตรี (แปลว่า สตรีที่แต่งกายไม่สุภาพ) นุ่งน้อย-ห่มน้อย-เสื้อ-กระโปรง-กางเกงสั้น ห้ามขึ้นโดยเด็ดขาด)


สาเหตุที่ห้าม
          ๑. เนื่องจากที่แห่งนี้มีนาค(งู)อาศัยอยู่มาก  และงูเหล่านี้ถือศีลงดกินเนื้อสัตว์  หากได้กลิ่นอาหารจะทำให้ตบะแตกแล้วเลื้อยออกมาหาอาหาร  จะทำให้นักท่องเที่ยวพบสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์และจะเป็นอันตรายสำหรับภิกษุ-สามเณรที่อยู่ประจำ
          ๒. หากอนุญาตให้นำอาหารไปทานบนภูทอกได้  ไม่ช้าภูทอกก็จะเต็มไปด้วยขยะ  ระบบนิเวศน์และทัศนียภาพที่สวยงามจะเสียหาย
          ๓.  อสุภาพสตรีที่แต่งกายไม่สุภาพ  ทำให้บุรุษเพศหรือภิกษุ-สามเณรเห็นแล้วเกิดความกำหนัดคือเกิดกิเลส  แม้มนุษย์ด้วยกันจะไม่รู้  แต่เทพยดาที่นี้จะรู้  ดังนั้นจึงได้ห้ามเด็ดขาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น